การจัดการการสื่อสารเครือข่ายสุขภาพของสมาคมการแพทย์แผนไทยในจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของคลินิกการแพทย์แผนไทยใน จ.จันทบุรี เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารภายในเครือข่ายของคลินิกการแพทย์แผนไทยใน จ.จันทบุรี และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของสมาคมการแพทย์แผนไทยใน จ.จันทบุรี เครื่องมือการวิจัยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการระดมสมองในการเก็บข้อมูลแบบเจาะลึก
ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสามคลินิกมีกระบวนการจัดการ 5 ด้าน (1) โครงสร้างการบริหารคลินิกบริหารงานแบบครอบครัว (2) การจัดการด้านการเงินของคลินิก แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านรายรับ ได้แก่ อัตราค่าบริการ การขายสมุนไพร ด้านค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจัดจ้างเจ้าหน้าที่ (3) การจัดสรรหาบุคลากร มี 2 แบบ คือ แบบประจำและจ้างเป็นรายชั่วโมง (4) การสื่อสารภายในองค์กร เป็นแบบแนวราบอย่างไม่เป็นทางการ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สื่อบุคคลและสื่อสิ่งพิมพ์ (5) การสื่อสารสุขภาพกับผู้รับบริการ มีระดับการสื่อสาร คือ บุคลากรทางการแพทย์แผนไทยอยู่ในฐานะผู้สื่อสาร, ข่าวสารการสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องต่อสุขภาพ, ช่องทางที่นำข่าวสารไปยังผู้รับบริการ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่อออนไลน์,ผู้รับบริการอยู่ในบทบาทผู้รับสาร
แนวทางพัฒนาการสื่อสารสุขภาพของสมาคมการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านบริหารเครือข่าย มีอยู่ 4 ขั้น คือ การก่อตั้ง กำหนดชื่อ เก็บค่าบำรุง แบ่งระดับสมาชิก ด้านการสื่อสารภายในสมาคม แบ่งออก 2 ทาง ได้แก่ กิจกรรมอย่างเป็นทางการ เช่น กำหนดพันธกิจร่วมกัน จัดช่องทางสื่อสารให้ชัดเจน และกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการ เช่น อบรมความรู้ จัดประชุมย่อย ด้านการสื่อสารภายนอกสมาคม แบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ ผู้รับบริการ ประชาชนทั่วไป ภาครัฐ และภาคประชาสังคม อันนำสู่การวางรากฐานให้มั่นคงและยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆ
ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ถือเป็นความเห็น
และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่
เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร
ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก
คณะวิทยาการจัดการและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ใต้ฟากฟ้าแห่งการศึกษา สื่อบุคคลและเครือข่ายการสื่อสารภาพรวมงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุวรรณ ธาราเดช และปิยธิดา ตรีเดช. (2560). การวางแผนพัฒนาสุขภาพและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจาะลึกระบบสุขภาพออนไลน์. (2559). สธ. ตั้งเป้า รพศ./รพท. ไม่ต่ำกว่า 80% มีคลินิกแพทย์แผนไทยรักษาโรคทั่วไปและเฉพาะโรค. https://www.hfocus.org/content/2016/06/12339
เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2560). ทางเลือกถ่ายโอนภารกิจ 2560. https://www.hfocus.org/content/2018/06/15902
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2546). หลักการจัดการและองค์การและการจัดการแนวคิดบริหารธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนา ทองมีอาคม และ เพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ. (2551). การสื่อสารสุขภาพ: ประโยชน์และการจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริหารด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 9-18.
ประพันธ์ ช่วงภูศรี. (2550). การทำงานกับองค์กรเครือข่าย. http://www.cdd.moi.go.th.
มนทิพา ทรงพานิช และคณะ. (2551). การจัดการบริการสุขภาพแบบผสมผสานในสถานบริการสุขภาพในภาครัฐทิศทางที่ควรจะเป็น. วารสารสำนักพิมพ์การแพทย์ทางเลือก, 1(1), 46-57.
วาสนา จันทร์สว่าง. (2548). การสื่อสารสุขภาพ: กลยุทธ์ในงานสุขศึกษาและการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีการพิมพ์.
สุรัชตา ราคา. (2550). กระบวนการสื่อสารกับเยาวชน ของเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุปรีดา ช่อลำใย. (2549). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนคลับธงไชย แมคอินไตย์ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน)] มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:112751#
สำนักยุทธศาสตร์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2563). ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=779
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
อภิชา น้อมศิริ. (2552). การสื่อสารเพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายสุขภาพ โดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; ม.ป.ท.
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. Newyork, Holt, Rinehart and Winston, Inc.
Kreps, G. L.,& Thornton, B. C. (1992). Health communication: Theory & Practice (2nd ed.). Prospect, IL: Waveland Press.
Schramm, W. (1954). The Process and Effects of Mass Communication. University of Illinois Press.