อิทธิพลของการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีต่อยอดกดไลค์และยอดติดตามของเพจเฟซบุ๊ก

Main Article Content

ศศิธร จิตมั่น
ฐานวี สวนแก้ว
อภิชญา เลกากาญจน์
สานิตย์ ศรีชูเกียรติ
อภินันท์ เอื้ออังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีต่อยอดกดไลค์และยอดติดตามของเพจผู้ประกอบการในเฟซบุ๊ก งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงสังเกต โดยเก็บข้อมูลจากเพจ Facebook ของผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 336 เพจ งานวิจัยนี้ใช้ระยะเวลาในการจัดตั้งเพจเป็นตัวแปรควบคุมเพื่อให้ผลการวิเคราะห์อิทธิพลมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  การวิเคราะห์อิทธิพลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ยอดกดไลค์และยอดติดตามมีความสัมพันธ์กันสูงมาก ระยะเวลาในการจัดตั้งเพจส่งผลต่อยอดกดไลค์และยอดติดตามของเพจ สำหรับอิทธิพลของตัวแปรการตลาดเชิงเนื้อหา พบว่า มีจำนวน 2 ตัวแปรที่ส่งผลต่อยอดกดไลค์และยอดติดตามของเพจ โดยสามารถเรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ค่าเฉลี่ยจำนวนความคิดเห็น/โพสต์ และ (2) อัตราของ Content ที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ผลจากการวิจัยบ่งชี้ว่า ผู้ประกอบการควรเน้นการสร้างความน่าสนใจของเนื้อหาในโพสต์ มากกว่าปริมาณการโพสต์ โดยมุ่งเน้นให้แต่ละโพสต์ได้ถูกแสดงความคิดเห็นจากลูกค้า และที่สำคัญผู้ประกอบการควรเข้าไปแสดงความคิดเห็นตอบกลับลูกค้า ซึ่งถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

Article Details

How to Cite
จิตมั่น ศ., สวนแก้ว ฐ., เลกากาญจน์ อ., ศรีชูเกียรติ ส., & เอื้ออังกูร อ. (2023). อิทธิพลของการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีต่อยอดกดไลค์และยอดติดตามของเพจเฟซบุ๊ก . วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 2(1), 39–62. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/2073
บท
บทความวิจัย

References

Balio, S., & Casais, B. (2021). A Content Marketing Framework to Analyze Customer Engagement on Social Media. In Research Anthology on Strategies for Using Social Media as a Service and Tool in Business (pp. 320-336). IGI Global.

De Oliveira Santini, F., Ladeira, W. J., Pinto, D. C., Herter, M. M., Sampaio, C. H., & Babin, B. J. (2020). Customer Engagement in Social Media: A Framework and Meta-analysis. Journal of the Academy of Marketing Science, 48(6), 1211-1228.

De Vries, L., Gensler, S., & Leeflang, P. S. H. (2012). Popularity of Brand Posts on Brand Fan Pages: An Investigation of the Effects of Social Media Marketing. Journal of Interactive Marketing, 26(2), 83–91.

Digital Stat. (2022). ค่าเฉลี่ยความผูกพันบนเฟซบุ๊ก. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

Digimusketeers. (2565). รวม Insight ของคนไทยที่ใช้แพลตฟอร์ม Social Media ปี 2022 (Digimusketeers). https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/social-media-2022

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Tests for Correlation and Regression Analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Lei, S. S. I., Pratt, S., & Wang, D. (2017). Factors Influencing Customer Engagement with Branded Content in the Social Network Sites of Integrated Resorts. Asia Pacific Journal of Tourism Research, 22(3), 316-328.

Market Research Thailand. (2022). Current E-commerce Trends in Thailand. In Market Research Thailand. https://www.thailandmarketresearch.com/insight/current-e-commerce-trends-in-thailand

Marketeer. (2561). เทรนด์การเติบโตของกลุ่มร้านค้าระดับ SME ใน Facebook (Marketeer). https://marketeeronline.co/archives/85749.

Myers, R. (1990). Classical and modern regression with applications (2nd ed.). Boston, MA: Duxbury. Nagelkerke, N. J. D.

Simon Kept. (2022). Digital 2022: July Global Statshot Report. In Datareportal. https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand

Thakur, R. (2018). Customer Engagement and Online Reviews. Journal of Retailing and Consumer Services, 41, 48-59.

Weerasinghe, K. P. W. D. R. (2019). Impact of Content Marketing Towards the Customer Online engagement. International Journal of Business, Economics and Management, 2(3), 217-218.