คุณลักษณะของผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์กร

Main Article Content

กฤตภรณ์ ทาโสด
กสิกร เกษไชย
รสสุคนธ์ กุณะแก้ว
อธิษฐ์ จวงพุ่ม

บทคัดย่อ

ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสำคัญ เพราะ ผู้นำ คือ บุคคลที่ถูกคัดเลือกและถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามพันธกิจและเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยสภาพของการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันองค์กรกำลังเผชิญความท้าทายในด้านความรู้ ความสามารถของผู้นำและการเติบโตขององค์กร โดยปัจจุบันเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงบุคคล และกลุ่มคนที่หลากหลาย ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผู้นำต้องฝึกฝนพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำและทักษะด้านต่าง ๆ ตามไปด้วย ดังนั้น ผู้นำจึงควรมีคุณลักษณะผู้นำที่สำคัญ ดังนี้ ด้านความฉลาดทางด้านอารมณ์และสติปัญญา ด้านบุคลิกภาพและความสามารถในการเข้าสังคม ด้านความมุ่งมั่นและริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสารอย่างที่มีประสิทธิภาพ ด้านความซื่อสัตย์ยุติธรรม การพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโตจะพึ่งแต่ผู้นำมิได้ องค์กรต้องมีเทคนิคเครื่องมือการจัดการในการจัดการกระบวนการทำงานองค์กรให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ประกอบด้วย การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ (Management by Objectives: MBO) เน้นการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยที่เป้าหมายนั้นจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องการให้มีคุณภาพสูงสุด และการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Control: TQM) เน้นคุณภาพในทุกด้านขององค์กร โดยการสร้างความตระหนักให้กับคุณภาพเป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งทั้งสองแนวคิดมุ่งเน้นเป้าหมายร่วมกันในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร ทั้งนี้เพื่อสร้างโอกาสการเจริญเติบโตการอยู่รอดขององค์กรในทุกสถานการณ์ และสามารถสร้างการแข่งขันในเวทีระดับโลก


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บี.เค.อินเตอร์ปรินส์.

กัลยาณี สูงสมบัติ. (2550). เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

กิตติยา มามีชัย. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี]. https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=279&group=20&depid=3

คมศิลป์ ประสงค์สุข. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชัญญานุช ประครองใจ และนันทิยา น้อยจันทร์. (2566). หลักการการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น. 808-815). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เตือนใจ สุนุกุล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3822

ต้นแก้ว ดามัง. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะด้าน Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]. http://202.29.52.112/dspace/bitstream/123456789/137/1/63551140111.pdf

น้ำฝน มงคลล้อม. (2564). การศึกษาการจัดการคุณภาพโดยรวมของผู้บริหารในโรงเรียนในเครือพระแม่มารีเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir.swu.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/99172/1/Namfon_M.pdf

มินตรา จันทร์เสถียร. (2559). การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี. (2552). แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The Contingency Approach). http://www.kroobannok.com/blog/20420

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เวิร์ค360. (ม.ป.ป.). คำคม แคปชั่นการเป็นผู้นำ Ep 1. https://work360.in.th/leader24/

ศรีสกุล เจริญศรี. (2558). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4903

สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. https://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2553/b167375.pdf

สุธารัตน์ ไชยเทพ. (2552). การศึกษาปัญหาและการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเคลมสินค้ากรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, ไม่มีตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php

option=show&institute_code=6&bib=1334&doc_type=0&TitleIndex=1

เสกสรรค์ สนวา ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และวิไลลักษณ์ ขาวสอาด. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์การภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ [ฉบับพิเศษ], 20(2), 399-411.https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/153435/111791

Drucker, P. F. (1974). The Practice of Management. New York: Harper & Row.

Dubrin, A. J. (2010). Principle of leadership. (6th ed.). International Edition: South-Western.

Gardner, H. (1993). Multiple Intelligences: The Theory Inpractice. New York: Basic Books.

George, S. (1970). Training by Objective: An Economic Approach to Management, Training. New York: The McMillan Company.

Hoy, K. W., & Miskel, C. G. (1991). Education Administration: Theory, Research and Practice. New York: McGraw-Hill.

Reddin, W. J. (1970). Managerial Effectiveness. New York: McGraw-Hill Book Company.

Robbins, S. P. (1990). Organization Theory: Structure. Design and Applications. New Jersey: Prentice-Hall.

Smircich, L. & Morgan, G. (1982). Leadership: The Management of Meaning. Journal of Applied Behavior Science. 18(3), 257-273.

Stogdill, R. (1974). Handbook of Leadership. New York: The Free Press.

W.Edwards Deming. (1982). The Deming Theory of Management. Academy of Management Review, 13(1), 138.

Yukl, G. (2002). Leadership in organization. New Jersey: Prentice-Hall.