กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความผูกพันกับแฟนบอลและผู้สนับสนุนของ สโมสรฟุตบอล บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

Main Article Content

ณัฐวิภา สินสุวรรณ
นิพาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความผูกพันกับแฟนบอลและผู้สนับสนุนของสโมสรฟุตบอล บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกและการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ประกอบไปด้วยนโยบาย รูปแบบกิจกรรม ช่องทางการประชาสัมพันธ์ และระยะเวลา 1. การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความผูกพันกับแฟนบอล พบว่า (1) ด้านนโยบาย สโมสรสร้างความผูกพันกับแฟนบอลโดยกำหนดประเภทสมาชิกตั๋วปี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มอบสิทธิประโยชน์ (2) ด้านรูปแบบกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลและกิจกรรมสานสัมพันธ์กับแฟนบอลนอกฤดูการแข่งขัน (3) ด้านช่องทางการประชาสัมพันธ์ สโมสรสื่อสารกับแฟนบอลสม่ำเสมอผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ติ๊กต๊อก ยูทูบ ไลน์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน X (4) ด้านระยะเวลา สโมสรจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันกับแฟนบอลทั้งในช่วงฤดูการแข่งขันและนอกฤดูการแข่งขัน 2. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความผูกพันกับผู้สนับสนุน พบว่า (1) ด้านนโยบาย สโมสรมีนโยบายเป็นคนกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สนับสนุนกับแฟนบอล (2) รูปแบบกิจกรรรม ได้แก่ กิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม กิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ และกิจกรรมสปอนเซอร์ทัวร์ (3) ด้านช่องทางการประชาสัมพันธ์ สโมสรสื่อสารข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับผู้สนับสนุนผ่านสื่อบุคคล สื่อกิจกรรม เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม (4) ด้านระยะเวลา สโมสรกำหนดช่วงเวลาดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้สนับสนุนทั้งในฤดูการแข่งขันและนอกฤดูการแข่งขัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร ขุนศรี. (2561). กลยุทธ์การใช้สื่อใหม่ในการสื่อสารการตลาดของสโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 23-25.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2544). CRM การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. บริษัท ทิปปิ้ง พอยท์ จำกัด.

ณัฐวิภา สินสุวรรณ. (2564). เอกสารคำสอนรายวิชาหลักการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐสุพงศ์ สุขโสต. (2553). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงและธำรงรักษาโครงสร้าง "ชนชั้น" : ศึกษากรณีการบริโภควัฒนธรรมฟุตบอลในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/33397/1/nutsupong_su.pdf

สโมสรฟุตบอล บีจี ปทุม ยูไนเต็ด. (ม.ป.ป.). ตราสโมสร บีจี ปทุม ยูไนเต็ด. http://www.bgputd.com

ไทยรัฐออนไลน์. (2564, 30 มีนาคม). จากตกชั้นสู่แชมป์ลีก : เส้นทาง "บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" ก่อนคว้าแชมป์ครั้งประวัติศาสตร์. https://shorturl.asia/It9ZB

นเรศ บัวลอย, ศุภกาญจน์ จำเริญรักษ์, ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, และสุธิชา ภิรมย์นุ่ม. (2563). การสื่อสารเพื่อบริหารความสัมพันธ์กับกลุ่มแฟนคลับกรณีศึกษาสโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารนิเทศสยามสยามปริทัศน์, 19(1), 95-103.

แบรนด์ บุฟเฟต์ (Brand Buffet). (2564, 24 มกราคม). คนไทยดูกีฬา 43 ล้านคนเจาะ 10 อินไซต์แฟนตัวยง กำลังซื้อสูง-ตั้งใจหนุนสินค้า ‘แบรนด์สปอนเซอร์’. https://www.brandbuffet.in.th/2021/06/10-insights-the-growth-of-sport-in-thailand

วีระ อรัญมงคล. (2538). หลักการประชาสัมพันธ์. สุดจิตออฟเซท.

ศุภลักษ์ สุวัตถิ และเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกคู่ค้าพันธมิตรสนับสนุนกีฬาอาชีพในประเทศไทย. วารสารการจัดการกีฬาสมัยใหม่, 2(1), 15-31

อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์. (2562). การสื่อสารภาพลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 23(3), 161-171.

อาจินต์ ทองอยู่คง. (2555). เป็นแฟนบอลมันมีอะไรมากกว่าดูบอล ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมของการมีส่วนร่วมของแฟนสโมสรฟุตบอลไทย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 31(1), 74-102.

Facebook Fanpage: BG Pathum United. (ม.ป.ป.). BG Pathum United. https://www.facebook.com/BGPATHUMUNITED

Facebook Fanpage: BG Pathum United. (ม.ป.ป.). โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Brand Day. https://www.facebook.com/BGPATHUMUNITED

Lobillo Mora, G., Ginesta, X., & de San Eugenio Vela, J. (2021). Corporate Social Responsibility and Football Clubs: The Value of Environmental Sustainability as a Basis for the Rebranding of Real Betis Balompié in Spain. Sustainability, 13(13689), 1-16. https://doi.org/10.3390/su132413689

Oeckl, S. J. S. & Morrow, S. (2022). CSR in Professional Football in Times of Crisis: New Ways in a Challenging New Normal. International Journal of Financial Study, 10(86), 1-26. https://doi.org/10.3390/ijfs100 40086