อิทธิพลของพฤติกรรมการใช้ที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการเปิดแอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ปองคุณ รุ่งสว่าง
ญาณกิตติ์ ไชยมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาแรงบันดาลใจการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการใช้ที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการเปิดแอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. (Standard Deviation) และ Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปิดรับเนื้อหาในแอปพลิเคชัน TikTok อันดับแรก ได้แก่ เพลง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.44, S.D.=0.713) มีปฏิสัมพันธ์ในการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok อันดับแรก ได้แก่ เพลง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.85, S.D.=0.758) และมีเหตุผลในการเปิดรับแอปพลิเคชัน TikTok อันดับแรก ได้แก่ ความบันเทิง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.61, S.D.=0.768) 2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกลุ่มตัวอย่างมีแรงบันดาลใจในการใช้แอปพลิเคชัน  TikTok มีค่าเฉลี่ยปานกลาง (x̄ = 3.41, S.D.=1.458) และ 4) ลักษณะเนื้อหาที่เปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการเปิดแอปพลิเคชัน TikTok ร้อยละ 12.50

Article Details

How to Cite
รุ่งสว่าง ป., & ไชยมงคล ญ. . (2024). อิทธิพลของพฤติกรรมการใช้ที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการเปิดแอปพลิเคชัน TikTok ของนักศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 3(1), 29–50. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/4883
บท
บทความวิจัย

References

เกสริน ขันธจีรวัฒน์. (2563). การศึกษาปัจจัย พฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน TikTok ชาวไทยและจีน. [สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://isas.arts.su.ac.th/?p=5015

ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2540). พฤติกรรมการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.

ติ๊กต๊อก TikTok. (2564). เจาะลึกเหตุผลที่ทำให้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มมาแรงแห่งปี. https://newsroom.tiktok.com/th-th/top-reasons-why-everyone-heard-about-tiktok

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้าง เสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

เดอะวิสดอม อคาร์ดิมี (The Wisdom Academy). (2566). 5 เหตุผลที่คนหันมาเล่น TikTok โอกาสที่นักการตลาดต้องรู้. https://shorturl.asia/M5gsK

ปริญญา ตันสกุล. (2550). ศาสตร์แห่งการเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: จิตจักวาล.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2021). TikTok รวมปรากฏการณ์เพลงฮิตติดกระแสประจำปี 2021. https://www.prachachat.net/ict/news-822002

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2550). พลิกโฉมองค์กรด้วยกลยุทธ์การสื่อสารชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

พิชามญชุ์ ธีระพันธ์. (2559). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อบริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์-PromptPay”. [วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://www.prachachat.net/ict/news-822002

สปริงนิวส์. (2567). เปิดสถิติปี 2024 ประเทศไหนมีคนใช้ Tiktok ติ๊กต็อกมากที่สุด คนไทยฉ่ำติดที่ 9. https://www.springnews.co.th/digital-business/digital-marketing/848802

สวรรยา วัฒนกิจเจริญมั่น. (2564). กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภท TikTok เปรียบเทียบระหว่างเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) ในเขตกรุงเทพมหานคร. [ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/3934/1/TP%20MS.013%202564.pdf

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สุชัญญา สายชนะ และ ชลิตา ศรีนวล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่น QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 156-165.

AudienceNet. (2018). Tiktok's influence on music listeners. https://musicbiz.org/wp-content/uploads/2018/09/AM_US_2018_V5.pdf

Kiran, D., Sharma, I. (2020). Empirical Research on Perceived Popularity of TikTok In India. International Journal of Advanced Science and Technology. 29(8s), 236 - 241.

We Are Social. (2022). Summary of TikTok User Data Statistics & Insight 2022. https://shorturl.asia/wndel

Wittawin, A. (2563). TikTok คืออะไร ? ส่องเทรนด์แพลตฟอร์มที่มาแรงสุดในปี 2020. https://www.thumbsup.in.th/TikTok-trends-2020.

Xu, L., Yan, X., & Zhang, Z. (2019). Research on the Causes of the “Tik Tok” App Becoming Popular and the Existing Problems. Journal of Advanced Management Science, 59-63. doi:10.18178/joams. 7.2.59-63.