ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินธุรกิจของนักศึกษาในสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

ภีมภณ มณีธร
ศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ
พัชรินทร์ อุดมจรัสเดช
วรมรรณ นามวงศ์
รัชนี เสาร์แก้ว
ภูริวัจฐ์ ชีคำ
ครองจิต วรรณวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินธุรกิจของนักศึกษาในสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงงานธุรกิจของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ประชากรที่ทำการศึกษาใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงแบบมีวัตถุประสงค์ คือ กลุ่มนักศึกษาสาขาการเป็นผู้ประกอบการ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 28 คน ที่ได้แบ่งกลุ่มดำเนินโครงงานธุรกิจจำนวน 19 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า จากการดำเนินโครงงานธุรกิจจำลองทั้ง 19 ธุรกิจ พบธุรกิจที่สามารถพัฒนาสู่การประกอบการธุรกิจจริงได้จำนวน 2 ธุรกิจ และมีธุรกิจที่ไม่สามารถพัฒนาสู่การประกอบการจริงได้ จำนวน 17 ธุรกิจ
ประเด็นสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จจนสามารถก้าวสู่การประกอบการธุรกิจจริงได้ มาจากการวางแผนการบริหารจัดการภายในที่ดีจะสามารถลดความเสี่ยงและปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินธุรกิจได้อย่างมาก การตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม น่าสนใจ ในราคาสมเหตุสมผล มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ตรงกับความต้องการและอยู่ในความสนใจของลูกค้าเป้าหมายสามารถกระตุ้นยอดให้เกิดยอดขายสินค้าอย่างต่อเนื่อง การวางแผนประมาณการใช้งบประมาณตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นธุรกิจจะช่วยลดปัญหาขาดสภาพคล่องทางธุรกิจได้ และการวิเคราะห์ วางแผน เพื่อเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงอย่างรอบด้านก่อนเริ่มต้นธุรกิจจะทำให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่การประกอบการธุรกิจ คือ ธุรกิจที่ล้มเหลวส่วนใหญ่ขาดการวางแผนการบริหารจัดการอย่างรอบด้านตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจึงทำให้ธุรกิจต้องประสบกับปัญหาและความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายใด ๆ ในระหว่างการดำเนินธุรกิจเนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมทางการตลาด ซึ่งเป็นผลจากขาดการวางแผนใช้งบประมาณตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2566). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. https://www.dip.go.th/th.

ณัฐ อมรภิญโญ. (2556). รูปแบบการประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 9(3), 57-66.

ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร, เมธินี วงศ์วานิชรัมภกาภรณ์ และพัชรา วาณิชวศิน. (2017). การวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและการสร้างหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการศึกษาผู้ประกอบการ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน และกัญญามน อินหว่าง. (2019). รูปแบบสมรรถนะและคุณลักษณะของผู้ประกอบ การที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเกษตรอินทรีย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(1), 113-126.

ริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. https://www.egov.go.th.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center). https://www.sme.go.th/th/.

National Business Education Association. (1995). National Standards for Business Education: What America’s Students Should Know and Be Able To Do in Business. National Business Education Association: Reston, Va.