แนวทางพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ศึกษาแนวทางพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของ Renee Hobbs และตัวบ่งชี้ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนเป็นเกณฑ์การพิจารณา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาจำนวน 400 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล และ (2) การสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล โดยรวมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 มีรายละเอียดรายด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การเข้าถึงสื่อ สารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ด้านที่ 2 การวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ด้านที่ 3 การสร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูลสารสนเทศในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และด้านที่ 4 การประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04
งานวิจัยจึงได้พัฒนากิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะเป็นด้านที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับความสามารถน้อยที่สุด ประกอบกับผลการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ควรให้ความสำคัญในด้านการวิเคราะห์ วิพากษ์ ด้วยการเสริมมิติด้านการนับถือตนเอง การรู้จักปกป้องสิทธิตนเอง การเสริมสร้างเพื่อกระตุ้นพลังใจ การปรับบทบาทให้กับผู้เรียน ทำให้เกิดเป็นกิจกรรมต้นแบบ 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมข้อมูลคู่ขนาน (2) กิจกรรมบันไดงู (3) กิจกรรมเขาวงกต (4) กิจกรรมหลอก ที่สามารถพัฒนาทักษะ MIDL ได้ทั้ง 4 ด้านตามแนวคิดของ Renee Hobbs และตัวบ่งชี้ของสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆ
ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ถือเป็นความเห็น
และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่
เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร
ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก
คณะวิทยาการจัดการและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อนเท่านั้น
References
กฤชณัท แสนทวี. (2553). พฤติกรรมการเปิดรับและระดับการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร].
กวิสรา ทองดี. (2557). การพัฒนาระดับการรู้เท่าทันสื่อโดยใช้ชุดฝึกอบรมแบบผสานความจริง เรื่องการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา สำหรับเด็กและเยาวชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี].
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมาธิราช, 12(1), 17-30.
จิราพร เณรธรณี. (2565, 23 กรกฎาคม). การรู้เท่าทันสื่อในยุคดราม่าล้นฟีด. https://www.educathai.com/knowledge/articles/615.
ณัฎฐกานต์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชน เพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: เอ พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.
ธนาพันธ์ ชัยเทพ และกิตติมา ชาญวิชัย. (2564). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ. Journal of Business, Economics and Communications, 16(2), 97-106.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2562). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การรู้เท่าทันสื่อ และความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(2), 127-161.
นันทิยา ดวงภุมเมศ และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: หลักการและเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างเด็กและเยาวชนพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(3), 54-67.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). เจริญผล.
ปกรณ์ ประจันบาน และอนุชา กอนพ่วง. (2558). การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร [รายงานการวิจัย]. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.
ปวีณา มะแซ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทรวิโรฒ].
พนม คลี่ฉายา. (2559). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2564). “ทิศทางพัฒนาสื่อ-สารสนเทศ เพื่อความมั่นคงของสังคม”.เจาะประเด็นร้อน คมชัดลึก. https://www.komchadluek.net/
พิศุทธิภา เมธีกุล. (2561). โปรแกรมพัฒนาการรู้เท่าทันดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ประยุกต์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทรวิโรฒ].
พีระ จิระโสภณ, ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์, มนต์ ขอเจริญ, ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา, อุษา รุ่งโรจน์การค้า, โสภัทร นาสวัสดิ์ และ ณัทธสิฐษิ์ สิริปัญญาธนกิจ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัล กับบทบาทในการกำหนด
แนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย [รายงานวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พรทิพย์ เย็นจะบก, ชวพร ธรรมนิตยกุล และ ไพรินทร์ บุญส่ง. (2563). โลกกลม ๆ ที่เรียกว่าดิจิทัล. สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2562). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของนักศึกษาครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 12(3), 978-997.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การสร้างเครืองมือวิจัย. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2564). Online workshop พัฒนาสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองผ่านชั้นเรียน. https://event.educathai.com/educa2021/onlineworkshop/2733
วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิจัย
การศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ดีการพิมพ์.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). (2560). ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย. [รายงานการวิจัย]. ผู้แต่ง.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). (2563). คู่มือการพัฒนาสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของผู้เรียน. มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.). (2565, 28 เมษายน). สสย. ขับเคลื่อน "รู้เท่าทันสื่อ" ตั้งแต่เด็กปฐมวัยจนมหาวิทยาลัย. TNN Online. https://www.tnnthailand.com/news/tnnexclusive/86532/
สิริกานต์ เทพสอน. (2564). การสร้างแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและประกันคุณภาพการศึกษา]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2563). สสส.เปิดตัวคู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ. https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/91539-studen.html
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). ผลสํารวจสถานการณ์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลของ
ประชาชนไทย ประจําปี พ.ศ. 2565. https://url.in.th/gXEQQ
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2564). รายงานสถิติการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2564. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.mhesi.go.th.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570 [รายงานฉบับเสนอคณะรัฐมนตรี].
โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2562). รายงานโครงการศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงาน โครงการสัปดาห์ รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ปี 2561 MIDL for Inclusive Cities: การสร้างเมืองของทุกคน. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.
อุลิชษา ครุฑเสน. (2556). การศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3),276-277.
อุษา บิ๊กกินส์. (2566). พลเมืองฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Arnett, J. J. (2000). Emerging Adulthood: A Theory of Development from the Late Teens through the Twenties. American Psychologist, 55(5), 469-480. https://doi.org/10.1037/0003-066X.55.5.469
Association for Media Literacy (AML). (n.d.). Media education in Canada. https://aml.ca/media-education-in-canada/?utm_source=chatgpt.com.
Buckingham, D. (2003). Media Education: Literacy, Learning and Contemporary Culture. Polity Press.
Erikson, E. H. (1950). Childhood and Society. New York: W. W. Norton &Company.
Finland Toolbox. (n.d.). Media literacy and education in Finland. https://toolbox.finland.fi/life-society/media-literacy-and-education-in-finland/?utm_source=chatgpt.com.
Hobbs, R. (2011). Digital and media literacy: Connecting culture and classroom. Corwin Press.
Hobbs, R. & Moore, D. C., (2013). Discovering Media Literacy: Teaching Digital Media and Popular Culture in Elementary School. Corwin Press.
Leaning, M. (2019). An approach to digital literacy through the integration of media and information literacy. Media and Communication, 7(2), 4-13. DOI: 10.17645/MAC.V7I2.1931.
Lee, A. Y. L., & Bauer, T. (2015). การทำความเข้าใจเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. รายงานสรุปการสัมมนาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิทัล [บรรยาย]. สำนักการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บส.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
Livingstone, S. (2004). Media Literacy and the Challenge of New
Information and Communication Technologies. The Communication
Review, 7(1), 3-14. https://doi.org/10.1080/10714420490280152 MediaSmarts. (n.d.). Use, understand & engage: A digital media literacy framework for Canadian schools. https://mediasmarts.ca/teacher-resources/use-understand-engage-digital-media-literacy-framework-canadian-schools?utm_source=chatgpt.com.
Sweden.se. (n.d.). The Swedish school system. https://sweden.se/life/society/the-swedish-school-system?utm_source=chatgpt.com.
Thoman, E., & Jolls, T. (2003). Literacy for the 21st Century: An Overview & Orientation Guide to Media Literacy Education Santa Monica. Center for Media Literacy.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper
and Row.