การวางแผนทางการเงินในช่วงสถานการณ์โควิดของประชาชน ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

กนกวรรณ วัฒนาทัศนีย์
ซามีนะ วชิรญา
อรนุช สว่างเจริญกุล
อังคณา ตาเสนา

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินในจากสถานการณ์โควิดของประชาชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด มีสมาชิกในครอบครัวมี 3-4 คน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท รายใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำ กว่า 5,000 บาท การออมเฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท หนี้สินเฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 5,000 บาท ก่อนสถานการณ์โควิดมีการวางแผนทางการเงิน 250 คน และในช่วงสถานการณ์โควิดมีการวางแผนทางการเงิน 305 คน สำหรับการวางแผนทางการเงิน พบว่า การวางแผนทางการเงินในแต่ละด้านอยู่ในระดับปางกลาง โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านหนี้สิน ด้านรายได้ ด้านการออม ด้านความเสี่ยง ด้านอื่นๆ(ด้านมรดก, ด้านภาษี,ด้านการเกษียณ) ด้านการลงทุน และด้านประกันภัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวางแผนสวัสดิการที่ได้รับจากรัฐบาล ส่วนใหญ่ประชาชนได้รับสวัสดิการ จากรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 78.50 และประชาชนที่ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 21.50


คำสำคัญ: การเงิน, การวางแผนทางการเงิน, สถานการณ์โควิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพล สมวรรณ และ อภิเทพ แซ่โค้ว. (2560). พฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 1-9. http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/issue14/article/view/1152

ชฎาพร คุณชื่น. (2559). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mmm24-2/6014133132.pdf

ทิฆัมพร โคตรทัศน์ และคณะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการวางแผนทางการเงินกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจยานยนต์อุปกรณ์ขนส่งและการบำรุงรักษาที่ได้รับการรับรอง ISO 9000 ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://www.acc.msu.ac.th/newsEventAcc-biz/Event/Up_journal/Journal4_id24.pdf

ธนพร จันทร์สว่าง และ พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัญฑิต,มหาวิทยาลัยสยาม]. https://shorturl.asia/UJCzB

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). กรุงศรีเผยกลยุทธ์ธุรกิจปี 2563 มุ่งเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเงินในยุคดิจิทัล. https://shorturl.asia/6LT3X

ธนิดา จิตร์น้อมรัตน์. (2559). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องทำอย่างไร. สุทธิปริทัศน์, 30(95), 13-29. https://shorturl.asia/f6Gnp

นิพพิชฌน์ โกวิทวณิชกานนท์. (2559). การวางแผนการลงทุนส่วนบุคคล. https://

www.oic.or.th/sites/default/files/content/85939/bth7.pdf

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุขใจ น้ำผุด, อนุชนาฏ เจริญจิตรกรรม และ สมนึก วิวัฒนะ. (2557). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัตรา จันทนะศิริ. (2563). การบริหารการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เกษียณอายุราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 47-60. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/download/238308/165486/

อารีย์ แผ้วสถุลพันธ์. (2559). การวางแผนทางการเงินก่อนเกษียณอายุของอาจารย์ไทยในสถานศึกษาเอกชนระดับอุดมศึกษาฝั่งธนบุรี. วารสารวิจัยกาสะลองคำ, 10(1). 27-37. http://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID=j00160167

ไอยรา ผ่านเมือง. (2560). การวางแผนและการจัดการทางการเงินของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีการหย่าร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1661/1/58602334.pdf

องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก. (2562). ประชากรในเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก. http://www.takpao.go.th

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.