อิทธิพลของการจัดทำบัญชีครัวเรือนต่อสภาพคล่องทางการเงิน

Main Article Content

กิรณา ยี่สุ่นแซม
วิภาวี ศรีคะ
พุทธมน สุวรรณอาสน์

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความแตกต่างของสภาพคล่องทางการเงินระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรมบัญชีครัวเรือน ให้กับสมาชิกกลุ่มเกษตรรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60ครัวเรือน ผลจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการวิเคราะห์สภาพการณ์ชุมชนพบว่า ในแต่ละครัวเรือนขาดองค์ความรู้ด้านบัญชี ไม่สามารถสรุปรายการรับจ่าย และไม่เห็นภาพรวมว่าครอบครัวมีเงินคงเหลือในแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าใด หรือเงินไม่พอใช้เท่าใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญ ทำให้ครัวเรือนเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ใช้เงินเกินตัว มีภาระหนี้สิน และไม่มีเงินออมไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ดังนั้น ผู้วิจัย จึงตระหนักถึงปัญหา และร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านบัญชี ซึ่งเป็นการบันทึกรายการรับจ่ายประจำวัน เพื่อประเมินว่าครัวเรือนมีรายรับและรายจ่ายจากแหล่งใดบ้าง จำนวนเงินเท่าใด และสำรวจว่ารายจ่ายใดมีความจำเป็นมาก เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา ซื้อเสื้อผ้า ซ่อมแซมบ้าน การศึกษา เป็นต้น ส่วนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นให้ลดลง เช่น ซื้อบุหรี่ ซื้อเหล้า เล่นการพนัน เป็นต้น หากครัวเรือนได้มีการวางแผนการรับจ่ายเงินของตนเอง เท่ากับว่า เป็นผู้รู้จักพอประมาณ ตามวิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่ครัวเรือนได้เข้าร่วมการฝึกอบรมบัญชี แต่ละครัวเรือนสามารถบันทึกรายการรับจ่าย และสรุปยอดเงินคงเหลือในแต่ละเดือนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจากการตรวจประเมินผลความถูกต้องของการจัดทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 3 ครั้ง พบว่า แต่ละครัวเรือนมีความสามารถในการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้ การประเมินผลครั้งที่ 1 ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี เท่ากับร้อยละ 28 การประเมินผลครั้งที่ 2 ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี เท่ากับร้อยละ 40 และการประเมินครั้งที่ 3 ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี เท่ากับร้อยละ 72


          นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบเพื่อประเมินความแตกต่างของสภาพคล่องทางการเงินก่อนและหลังการฝึกอบรมบัญชีครัวเรือน โดยพิสูจน์ด้วยอัตราการออมที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.27 เป็นร้อยละ 43.43 ของจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ยิ่งไปกว่านั้น ผลการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ แบบ Paired sample t-test พบว่า อัตราการออมหลังการอบรม สูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญในระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลเนตร สุภาพ. (2560). ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านบัญชีและวิธีการให้บริการความรู้สำหรับผู้ทำบัญชีในธุรกิจภาคเหนือตอนล่าง 1. วารสารวิทยาการจัดการ, 34(2), 29-54.

จันทนา สาขากร และ ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

ชลลดา เหมะธุลิน และ จินตนา ชัยชนะ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(1), 42-49.

ไชยา ทองต้อย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ฐณดม ราศีรัตนะ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือนกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(36), 61-69.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). การออม. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก https://www.1213.or.th/th/moneymgt/save/Pages/save.aspx.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). ภาวะเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/Pages/default.aspx.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2562). ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2019 (ไตรมาส 3/2019). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6145.

ธารี หิรัญรัศมี และคณะ. (2559). การบัญชีการเงิน. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

นิตยา คุ้มพงษ์ และ นฤมล คุ้มพงษ์. (2556). ผลสัมฤทธิ์ของโครงการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่.

บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด. (2562). 4 วิธีแก้ปัญหาทางการเงิน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://www.smartsme.co.th/content/17278.

บริษัท อินเตอร์สแปช (ประเทศไทย) จำกัด. (2558). ข้อดีของการจดบันทึกรายรับ รายจ่าย. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จาก https://moneyhub.in.th/article/saving-money-in-year-of-the-pig/.

บริษัท อินเตอร์สแปช (ประเทศไทย) จำกัด. (2558). ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้มีเงินออม. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จาก https://moneyhub.in.th/article/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-2/.

พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และ ปวีนา กองจันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1926-1942.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). “บัญชีครัวเรือน” เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 20-28.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2562). ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2018/12-5004-20181214174310/a263aa8735ad2755492501b93fdcdd2a.docx.

มันนี่วีแคนดอทคอม. (2562). สภาพคล่องทางการเงิน คืออะไร พลาดไม่ได้กับวิธีการบริหารให้เงินไม่ขาดมือ. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://www.moneywecan.com/liquidity/.

รัตนา บุญชัย. (2553) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการ บัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดอุทัยธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). เศรษฐกิจ ฐานราก.สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2562, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005081823.pdf.

อภิญญา วิเศษสิงห์. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินมาถือปฏิบัติกับองค์กรธุรกิจ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(10), 548-552.

King, K. (2012). Accounting VCE Unit 3&4.5th. ed. Australia: On-demand.