การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองต้นแบบของ จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สุภาณี อินทน์จันทน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบ และการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในกระบวนการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต้นแบบของจังหวัด สมุทรสาคร รวมถึงผลสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และ (2) เพื่อสร้างข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองที่เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดสมุทรสาคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยรวบรวมข้อมูลจาก (1) ตัวแทนคณะกรรมการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นผู้ให้ข้อมูลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และ (2) เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอที่รับผิดชอบงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า (1) ปัจจัยหรือองค์ประกอบในการบริหารจัดการของกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านโครงสร้าง ด้านวิธีการดำเนินงาน และด้านบุคลากร (2) การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านความมีคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีภูมิคุ้มกันในตัว และด้านความมีเหตุผล และ (3) การดำเนินงานตามเกณฑ์ มาตรฐานการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลการดำเนินงาน และด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็ง

  2. ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า (1) ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย คณะกรรมการวิธีการดำเนินงานเครือข่าย และภาวะผู้นำ (2) การประยุกต์ใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ามีการนำทั้ง 5 หลักการมาประยุกต์ใช้ แบบผสมผสานโดยเน้นที่ความเหมาะสมกับบริบทของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และ (3) ผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จในระดับสูง (4) ปัญหาและอุปสรรคที่ พบคือ ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ปัญหาการเมืองท้องถิ่นที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิด และไม่ชำระเงินคืน ปัญหาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ปัญหาคณะกรรมการไม่ดำเนินการตามแนวทางที่สำนักงาน คณะกรรมการองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกำหนดปัญหาสมาชิ ไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ปัญหาจากระบบบัญชี และปัญหาจากระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพ บริบทของหมู่บ้าน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2550). คู่มือปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กิ่งกาญจน์ นาเอี่ยม. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และคณะ. (2546). กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์ และคณะ. (2556). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการกองทุน ชุมชน (กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) ในด้านการพัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทรงศิริ เดชะไกศยะ. (2548). ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านศาลเจ้า ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธเนศ ศรี วิชัยลำพันธ์. (2556). การพัฒนาเศรษฐกิ จชุมชน . เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาสุทิตย์อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติความรู้และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการ เสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547. (2547, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 85ก., หน้า 1.

ไพโรจน์ อุลิต. (2553).แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2557, จาก http:www.it.aru.ac.th

ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2547. (2547, 21 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 43ง., หน้า 87-88.

ศิริพร ศิริปัญญวัฒน์ และสาคร ศรีสวสัดิ์. (2550). ปัจจยัที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชน เมืองในภาคเหนือ. เชียงใหม่: ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ.

สมชาย สุเทศ. (2555). การบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด นครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระ บรมราชูปถัมภ์.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2551). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์การ. วารสารพัฒนบริหาร ศาสตร์, 48(1), 86-90.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2555). กรอบการประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพ การด าเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. เอกสารสำเนา.

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2544). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2550). ความรู้ทั่วไปกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: มปท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มปท.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2551). เศรษฐกิจ พอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2557). บรรยายสรุปจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานจังหวัด สมุทรสาคร.

สำานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร. (2557). สรุปผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี งบประมาณ 2557. สมุทรสาคร: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สมุทรสาคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทและการมีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในประเทศที่คัดสรร. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สกศ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). หนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง (ทช 31001) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สิริพงษ์ ปานจันทร์ และคณะ. (2556). การพัฒนากรอบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของการบริหาร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อความผาสุกของชุมชนในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อเนก นาคะบุตร. (2536). จุดเปลี่ยนในการพัฒนาชนบทและองค์กรพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพฯ: มปท.

Aldag, R. J.and Stearns, T. M. (1987). Management. Cincinnati: South-Western. Certo, S.C. (2000). Modern Management. New Jersey: Prentice-Hall.

Kast, F.E. and Rosenzweig, J.E. (1 9 7 0 ). Organization and Management: A System Approach. New York: McGraw-Hill.

Koontz, H. and O'Donnell, C. (1976). Management: A Systems and Contingency Analysis of Managerial Functions. New York: McGraw-Hill.

Mintzberg, H. (1979). The Structuring of Organizations. New Jersey: Prentice-Hall.

Waterman Jr., R.H., Peters, T.J., and Phillips, J.R. (1980). Structure is not Organization. Business Horizons, 23(3), 14-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27