ความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์กับผลการดำเนินงานของธุรกิจน้ำดื่มในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อุมาพร คุณชื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ธุรกิจน้ำดื่ม, ผลการดำเนินงาน, การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์ 2) ผลการดำเนินงาน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการ 7s ของแมคคินซีย์กับผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจน้ำดื่มใน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้ อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

  1. การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์ของธุรกิจน้ำดื่มในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( μ = 3.65) และเมื่อพิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตาม ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านระบบ ( μ = 3.75) ด้านกลยุทธ์ ( μ = 3.69) ด้านค่านิยมร่วม ( μ = 3.67) ด้านทักษะ ( μ = 3.64) ด้านบุคลากร ( μ = 3.62) ด้านโครงสร้าง ( μ = 3.60) และด้านรูปแบบ ( μ = 3.59) ตามลำดับ

  2. ผลการดำเนินงานของธุรกิจน้ำดื่มในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( μ = 3.89) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความยืดหยุ่น ( μ = 3.99) ด้านศักยภาพทางการแข่งขัน ( μ = 3.90) ด้านคุณภาพ การให้บริการ ( μ = 3.86) และด้านการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ( μ = 3.81) ตามลำดับ

  3. การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานของธุรกิจน้ำดื่ม ในจังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง ( ρ = .403)

References

ชุติพนธ์ ประโรรส. (2555). ความพึงพอใจของลูกค้าในอำเภอสนัทราย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อส่วนประสม การตลาดของน้ำดื่มตราโรส. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพยา กิจวิจารณ์. (2549). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ธิดารัตน์ ติรพันธุพาณิชย์. (2552). การดำเนินงานของผู้ผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์ในอำเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงคราญ วงศ์วาท. (2551). พฤติกรรมการเลือกซื้อและความพึงพอใจของลูกค้ำที่มีต่อน้ำดื่มบรรจุขวดตราราชภัฏในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นรินทร์ แจ่มจำรัส. (2550). การพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.

วิไลพร กิติสุข. (2555). การพัฒนาระบบการวัดผลการปฏิบัติงาน โดยอาศัยการวัดผลดุลยภาพ (BSC): กรณีศึกษาบริษัท สุขสันต์พลาสติก จำกัด (ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุน้ำดื่ม). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สิริชัย ขำสมบัติ. (2552). การปรับปรุงคุณภาพการผลิตน้ำดื่มของสถานที่ผลิตน้ำดื่มขนาดเล็ก จังหวัดหนองคาย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Michalski, A. (2011). The McKinsey 7-S Framework: Invented in the 1980s and Still a Possibility for Success Today. Munich: GRIN.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27

How to Cite

คุณชื่น อ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดการ 7s ของแมคคินซีย์กับผลการดำเนินงานของธุรกิจน้ำดื่มในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม, 17(28), 39–50. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/864