การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ

Main Article Content

ลัดดา ประสาร
พชร ผลนาค
กาญจนีย์ ดวงห้อย

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 57 คน นำเสนอผลการวิจัยไว้ทั้งสิ้น 4 ประเด็นคือ 1) ผลการประเมินศักยภาพของชุมชนในการนำตนเองสู่เป้าหมายการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ 2) ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย 3) การเปลี่ยนแปลงในตัวกลุ่มเป้าหมายกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้แผนงานและกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน 4) ผลกระทบทางสังคมและการนำไปใช้ประโยชน์ จากผลการวิจัยพบว่าหลังจากมีโครงการพัฒนาศักยภาพฯ กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะความสามารถด้านการสื่อสารการตลาดที่สูงขึ้น จากเดิมที่เป็นกลุ่ม Passive Audience มาสู่การมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด การตอบรับและการปฏิเสธด้วยตนเอง การลงมือปฏิบัติ มีการเปลี่ยนแปลงด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนงานในระดับที่แตกต่างกัน การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมการพัฒนาฝีมือจักสานนั้นยังคงอยู่ในระดับ “Marginal Participation”  ในขณะที่กิจกรรมสื่อสารการตลาด กิจกรรมพัฒนาทักษะทางบัญชีต้นทุนอยู่ในระดับ “Partial Participation”  และพบว่ากิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในระดับ “Full Participation” นั้นจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการผลประโยชน์ “Benefit” ได้แก่ การกำหนดราคาขาย การจัดสรรค่าใช้จ่ายทางการตลาด  (ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน)  รวมถึงการยอมรับ ปฏิเสธให้เกิดการปรับปรุงนวัตกรรมเครื่องเหลาคลุ้มกึ่งอัตโนมัติ  

   


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2563). วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานคลุ้มบ้านทุ่งใน โครงการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพจักสานคลุ้มของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานคลุ้มบ้านทุ่งใน. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2565, จาก https://www.eef.or.th/community-product/product-17/.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(50), 169 - 186.

เจริญเนตร แสงดวงแข. (2563). ผลลัพธ์การสร้างนักสื่อสารชุมชนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารศาสตร์, 13(3), 40 - 83.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2561). Design thinking: learning by doing. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จาก http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking. Learning.by.Doing.pdf.

Fornaroff, A. (1980). Community Involvement in Health System for Primary Health Care. Geneva: World Health Organization.

Kasim, K. A. (2007). Developing a Framework for identifying necessary skills needs for community engagement in the housing market renewal process. Retrieved November 10, 2021, from researchgate.netstandford D. school. (2021). Design Thinking Model.