ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของร้านโชคเจริญทรัพย์

Main Article Content

ธีรวุฒิ ชูประเสริฐสุข
ชัชชัย สุจริต
กุลยา อุปพงษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของร้านโชคเจริญทรัพย์  และศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของร้านโชคเจริญทรัพย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ลูกค้าร้านโชคเจริญทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่นอนได้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 385 ราย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า


              ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อชุดเครื่องนอน โดยมาซื้อหน้าร้าน เพราะมีสินค้าหลายประเภทให้เลือก ซื้อน้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ส่วนใหญ่ไม่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางออนไลน์ในการซื้อคือ Facebook Fanpage โดยใช้โทรศัพท์มือถือ


              ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีความสำคัญระดับมาก และการตัดสินใจซื้อสินค้ามีความสำคัญระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคือ ช่องทางในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์  และเครื่องมือที่ใช้ในการซื้อ และผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณรายด้าน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของร้านโชคเจริญทรัพย์ ร้อยละ 77.1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินณวัฒน์ อัศวเรืองชัย, ศักดา นาควัชระ, ทวินานันญ์ พุ่มพิพัฒน์, กันตินันท์ กิจจาการ และ เปียทิพย์ กิติราช. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิค-19. วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (46), 389-404.

ชมภูนุช แตงอ่อน. (2563). อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ปรับตัวรับ New Normal. https://www.gsbresearch.or.th

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2561). Digital Marketing 5G: concept & case study. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

นิเวศน์ ธรรมะ, ประพันธ์ วงศ์บางโพ, พลอมร ธรรมประทีป, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์, สรยุทธ งามจันทร์ผลิ และ วรางคณา งามจันทร์ผลิ. (2552). การจัดการตลาด. แมคกรอ-ฮิล.

วิชิต อู่อ้น. (2557). แนวคิดและทฤษฎีทางการตลาด. https://fifathanom.wordpress.com/

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก]. https://shorturl.asia/KgenL

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). [รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802030758_5243_3966.pdf

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์].

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภกร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปริญ ลักษิตานนท์ และสุพีร์ ลิ่มไทย. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques, (3rd ed). John Wiley&Sons.