ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชุติกาญจน์ ยี่เมา
ชมพูนุท วุฒิมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ กับพฤติกรรมการเปิดรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) จำนวน 400 คน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการความถี่ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ K-Pop 1-3 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 55.80 มีจำนวนชั่วโมงในการติดตามข้อมูลข่าวสารของ K-Pop ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 47.00 ใช้ช่องทางเฟซบุ๊กในการติดตามข้อมูลข่าวสาร K-Pop ร้อยละ 52.80 และติดตามข้อมูลข่าวสาร K-Pop ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ร้อยละ 64.50 2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการตัดสินใจเลือกรับวัฒนธรรม K-Pop ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.28, S.D.=0.60) 3) ลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร K-Pop แตกต่างกัน และ 4) รายได้ เพศ อายุ ความพึงพอใจในการติดตามข้อมูลข่าวสาร K-Pop ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรับวัฒนธรรม K-Pop ร้อยละ 14.70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก แก้วประทุม. (2555). พฤติกรรมการบริโภคเพลงเกาหลีของวัยรุ่นไทย. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2555/social/social-2555-10.pdf

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ชนิภรณ์ แก้วเนิน ณัฐนรี สมิตร และอรรภเวทย์ พฤกษ์สถาพร. (2563). พฤติกรรมการรับรู้ และทัศนคติของผู้บริโภคต่อสินค้าและการใช้บริการตามกระแสเกาหลีนิยม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (3). 277-294.

ชุติมา ชุณหกาญจน์. (2550). พฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมของวัยรุ่นไทยจากสื่อบันเทิงเกาหลี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2007.1022

ชานันต์ รัตนโชติ. (2552). ประโยชน์ในการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง]. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/222560

จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และพฤติกรรมแฟนคลับ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51 (น.421-428). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/proceedings/index.php?/KUCON/search_detail/result/13475

ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2016/09/JCIS59066.pdf

ปฏิภาณ หุตะโชค. (2556). กระบวนการแลกเปลี่ยนและการรับรู้วัฒนธรรมเกาหลีผ่านคลิปวีดีโอเพลงเกาหลีทางสื่อเว็บไซต์ของกลุ่มวัยรุ่นไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Patiparn.Hut.pdf

พีระ จิรโสภณ. (2541). หลักและทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรนุช ตันติวิทิตพงศ์. (2551). พฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2008.1313

วิศรุต สินพงศพร. (2563). กลยุทธ์ K-POP สร้างชาติเกาหลี ครองโลกด้วยวงการบันเทิง. สำนักข่าวเวิร์คพอยท์ทูเดย์. https://workpointtoday.com/workpointtoday-says-hello

สถิติจำนวนประชากร พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. (2566). จำนวนประชากรในจังหวัดเชียงใหม่. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

เสรี วงศ์มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาด : การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

อริญชัย วีรดุษฎีนนท์. (2564). วัฒนธรรมไอดอลในสังคมไทย. นิตยสารจีคิวไทยแลนด์.https://www.gqthailand.com/views/article/the-idol-culture-phenomenon

อัษฎายุธ สุนทรศารทูล. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าใช้วงจรระบบดิจิตอลของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของลูกค้าประเภทธนาคาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/PNRU.the.2004.116

Charies k.Atkin. (1973). Instrumental ๊Utilities and Information Seeking. In New Models for Mass Communication Research, Edited by P. Clarke, 205-242. Beverly Hills, CA: Sage.

DeFleur. (1989). Theories of Mass Communication. New York: Longman.

Kanya, S. (2009). General Psychology. Bangkok: Bamrungsann.