สาเหตุและผลกระทบจากการเติบโตของเงินหยวน

Main Article Content

เจษฎา เพชรเฟื้องฟ้า
คมศิษฎ ชติกศุภเศรณ
ปฏิพงศ์พล อ้นสุวรรณ
แทนคุณ ศิวพรประทาน
ภูมิพิสิฏฐ์ ฟ้าสว่าง
คมกริช โสภาเนตร
วาสนา ศิลาเกษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดจาก
การเติบโตของเงินหยวนในอนาคต หากเงินหยวนเข้ามามีอิทธิพลในการเป็นสกุลเงินหลักของตลาดโลก โดยผลจากการศึกษาข้อมูลพบสาเหตุที่ส่งผลให้เงินหยวนเติบโตขึ้น โดยมีสาเหตุหลักจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามีความผันผวนสูง เนื่องจากการล้มละลายของธนาคารที่สหรัฐอเมริกาวิกฤตเงินเฟ้อ และพลังงานซึ่งส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศการรวมตัวกันของประเทศต่าง ๆ ในนาม
BRICS ที่ใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมเป็นส่วนใหญ่และในอนาคตคาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกมาก หรือการใช้มาตรการการคว่ำบาตรรัสเซียของประเทศฝั่งตะวันตก เนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน สุดท้ายคือการผลักดันการใช้เงินหยวนเป็นสกุลเงินกลางเพื่อแลกเปลี่ยนการค้าขายภายในเอเชีย เพราะการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเติบโต และมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมาผลที่เกิดขึ้นจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของสกุลเงินหยวนมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในด้านบวกคือ การเติบโตของสกุลเงินหยวน อาจทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ
แทนประเทศสหรัฐอเมริกา และเข้ามามีอิทธิพลในตลาดโลกมากขึ้น ในด้านลบคือ การส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจริงของประเทศจีนโดยตรง และประเทศต่าง ๆ ในโลกที่ยังถือครองเงินสกุลดอลลาร์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประชาไท. (2565). นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกชี้เงินหยวนยังไม่ผงาดขึ้นแทนที่ดอลลาร์สหรัฐเพราะรัฐบาลจีน. https://prachatai.com/journal/2022/04/98244

ปรีดี บุญซื่อ. (2566). เงิน “หยวน” จะเป็นเงินสกุลหลักของโลก ต้องมีบทบาทความเป็นสากลทางการเงิน 3 ด้าน. https://thaipublica.org/2023/06/pridi358/

พชรนันท์ เกษมชัยนันท์. (2555). มิติใหม่และโอกาสของการเลือกใช้เงินหยวนเพื่อการค้า. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_03May2012.html

วันวลิต ธารไทรทอง. (2555). ค่าเงินหยวน และอนาคตของเงินหยวนในการเป็นเงินตราระหว่างประเทศ. http://thaifranchisedownload.com/ dl/group12120130102165937.pdf

สุทธิชัย หยุ่น. (2566). จำกัดลงทุน สหรัฐฯในเทคโนโลยีก้าวหน้าในจีน. https://www.thaipost.net/columnist-people/354596/

อรรถพล มาพวง และนิสิต พันธมิตร. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ กับตัวแปรทางเศรษฐกิจในประเทศจีน เวียดนาม และไทย. [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/312457/178565e9257a176756056bac50b277b5?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2006.56

China Daily. (2022). เงินหยวนมีสัดส่วนสูงขึ้นในการชำระเงินทั่วโลก. https://bualuang.fund/archives/19509/morning-brief-21-02-2022/

EXIM Thailand. (2015). เงินหยวนกับการก้าวขึ้นเป็นสกุลเงินหลักของโลก.https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/7541/enews_november2015_share.html

Hu Zhiting. (2022). 海关总署:今年前2个月出口5447亿美元,增长16.3%. https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16993101

Infoquest. (2023). จีนวอนกลุ่ม BRICS รับสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นคู่แข่งกับ G7 เต็มตัว. https://www.infoquest.co.th/2023/327671

MGR Online. (2022). ย้อนมอง 30 ปี ของก้าวย่างการปฎิรูปจีน. https://mgronline.com/china/detail/9510000148036

Reuter. (2023). Yuan overtakes dollar to become most-used currency in China's cross-border transactions. https://www.channelnewsasia.com/business/yuan-overtakes-dollar-become-most-used-currency-chinas-cross-border-transactions-3445601

Thai PBS. (2015). IMF เพิ่ม "หยวน" เป็นเงินสกุลหลักของโลก ยืนยันถึงบทบาทจีนบนเวทีการค้า-การลงทุน. https://www.thaipbs.or.th/news/content/6426