การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในประเทศไทย: การประยุกต์ใช้แบบจำลอง VAR

Main Article Content

กรนิกา ปาละสอน
เพียงตะวัน พลอาจ
ธนพล รัตนสมัครการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืนโดยการศึกษามุ่งเน้นที่การทำความเข้าใจถึงผลกระทบของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาคและรายได้ต่อหัวของประชากร ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการใช้พลังงานทางเลือก และรายได้ต่อหัวของประชากร ซึ่งถูกวิเคราะห์ผ่านโมเดลเวกเตอร์ออโต้รีเกรสซีฟ (VAR Model) เพื่อประเมินความสัมพันธ์และการตอบสนองระหว่างตัวแปรเหล่านี้ในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีผลกระทบโดยตรงต่อการใช้พลังงานทางเลือก โดยเมื่ออัตราการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้น 1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จะส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นในปีแรก และยิ่งสูงขึ้นในปีที่ 3 ก่อนที่จะปรับเข้าสู่ดุลยภาพ นอกจากนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับภาพรวมและรายได้ต่อหัวของประชากร แต่การเพิ่มขึ้นของการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ยังแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองที่ต่ำเพียงเล็กน้อยของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้ต่อหัว นอกจากนี้ ผลการศึกษาเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutral และ Net Zero Emission ได้สำเร็จ โดยการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) เพื่อความยั่งยืนในระยะยาวของประเทศ

Article Details

How to Cite
ปาละสอน ก. ., พลอาจ เ. ., & รัตนสมัครการ ธ. . (2024). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในประเทศไทย: การประยุกต์ใช้แบบจำลอง VAR . วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 3(2), 1–28. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/jmsc_journal/article/view/5587
บท
บทความวิจัย

References

บัณฑิต ชัยวิชญชาติ และสุจิต ชัยวิชญชาติ. (2549). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันภายในประเทศที่มีผลต่อ ระบบเศรษฐกิจไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 12(1), 60-80.

Dinda, S., & Coondoo, D. (2006). Income and emission: A panel data- based cointegration analysis. Ecological Economics, 57(2), 167-181.

Flavelle, C. (2019). Climate Change Threatens the World's Food Supply. United Nations Warns.

Grossman, G. M., & Krueger, A. B. (1995). Economic growth and the environment. The Quarterly Journal of Economics, 110(2), 353-377.

Jayanthakumaran, K., Verma, R., & Liu, Y. (2011). carbon dioxide (CO2) emissions energy consumption, trade and income: A comparative analysis of China and India. Energy Policy, 42, 450-460.

Jiranyakul, K. (2018). The impact of environmental policy on Thailand’s carbon dioxide (CO2) emissions: Evidence from dynamic panel data analysis. International Journal of Energy Economics and Policy, 8(2), 201-207.

Kim, S., Lee, K., & Nam, K. (2010). The relationship between carbon dioxide (CO2) emissions and economic growth: The case of Korea with nonlinear evidence. Energy Policy, 38, 5938-5946.

Kumar, A., & Yadav, P. (2020). Circular economy practices in Southeast Asia: Implications for sustainability. Resources, Conservation & Recycling, 158, 104803.

Lee, C. C., & Lee, J. D. (2009). Income and carbon dioxide (CO2) emissions: Evidence from panel unit root and cointegration tests. Energy Policy, 37(2), 413-423.

Liu, Y. (2013). Energy production and regional economic growth in China: A more comprehensive analysis using a panel model. Energies, 6, 1409-1420.

Mitić, P., Kresoja, M., & Minović, J., (2019). A Literature Survey of the Environmental Kuznets Curve. Economic Analysis, 52(1), 109-127. DOI:10.28934/ea.19.52.12.pp109-127

Narayan, P. K., & Narayan, S. (2010). Carbon dioxide emissions and economic growth: Panel data evidence from developing countries. Energy Policy, 38(1), 661-666.

NAT. (2022). Overview. http://nat2022.org/overview.php

NESDC. (2021). Summary The Twelfth National Economic and Social Development Plan. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9640

Noor, S., & Siddiqi, H. W. (2010). Energy consumption and economic growth in South Asian countries: A co-integrated panel analysis. International Journal of Human and Social Sciences, 5(14), 921-926.

Saboori, B., & Sulaiman, J. (2013). Environmental degradation, economic growth, energy consumption, and population growth in Malaysia. Energy Policy, 66, 470-479.

Sims, C. A. (1980). Macroeconomics and reality. Econometrica: journal of the Econometric Society, 48(1), 1-48.

Siriwardana, M., & Kunasena, D. (2015). Carbon dioxide emissions, energy consumption, and economic growth in South Asia. Energy Sources, Part B: Economics, Planning, and Policy, 10(9), 869-875.

Ternald, D. (2020). International Environmental Technology Centre. Annual Report. https://www.unep.org/ietc/resources/report/annual-report-2020

The Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC). (2021). Thai Economic Performance in Q4 of 2021 and the Outlook for 2022. https://www.linkedin.com/company/office-of-the-national-economic-and-social-development-council/

UNEP. (2020). Emissions Gap Report 2020. https://www.unep.org/emissions-gap-report-2020

UNFCCC. (2019). Annual report 2019. https://unfccc.int/about-us/annual-report/annual-report-2019

UNDP, S. (2021). Creating a nature-positive future: The contribution of protected areas and other effective area-based conservation measures. New York: UNDP.

Waiyakoon, N., Choonpradub, C., & Sriprom, S. (2021). The bio-economy model and its impact on sustainability in Thailand. Journal of Cleaner Production, 293, 126233.

World Bank Data. (2024). The world bank Data. The World Bank.