แผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

Main Article Content

วิลาสินี แซ่ว่าง
ชลดา กนกสกุลวงศ์
ยงยศ แซ่ม้า
อังคณา ตาเสนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนธุรกิจโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม โดยวิเคราะห์แปลความลักษณะเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวบนฐานทุนทางวัฒนธรรม บ้านมอทะ ตำบลแม่อุสุ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก พบว่า การประเมินศักยภาพโฮมสเตย์บ้านมอทะ อยู่ในระดับดี โดยด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากบ้านมอทะ  มีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นที่ชัดเจน และด้านที่มีผลการประเมินน้อยที่สุด คือ ด้านประชาสัมพันธ์ เนื่องจากโฮมสเตย์ บ้านมอทะเป็นโฮมสเตย์ที่เปิดใหม่ ยังขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว สำหรับการจัดทำแผนธุรกิจ พบว่า โฮมสเตย์บ้านมอทะมีบ้านพักให้บริการ จำนวน 4 หลัง มีบริการจุดกางเต็นท์ และมีการนำผลผลิตที่ปลูกเองมาใช้ประกอบอาหาร นอกจากนี้โฮมสเตย์ยังมีศูนย์เรียนรู้การทอผ้า และการสานไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อให้นักท่องเที่ยว  ได้เรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยของธุรกิจประกอบด้วย จุดแข็ง คือ การให้บริการลูกค้าอบอุ่นเป็นกันเอง มีวิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จุดอ่อน คือ โฮมสเตย์กำลังเปิดบริการ ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว และยังไม่มีสื่อหรือโฆษณาที่แนะนำการท่องเที่ยวของชุมชนที่แพร่หลาย โอกาส คือ ผู้คนหันมาสนใจธรรมชาติมากขึ้น


ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยและอุปสรรค คือ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติโดยตรง หากเกิดสภาพอากาศแปรปรวน จะทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักไม่สามารถออกไปชมแหล่งธรรมชาติได้ นอกจากนี้ธุรกิจมีการวางแผนเป้าหมายระยะสั้น คือ การสร้างสื่อออนไลน์ของตัวเองและเป็นสถานที่พักผ่อนที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติ ในส่วนของเป้าหมายระยะยาว คือ การรักษากลุ่มลูกค้าและสร้างแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมให้แก่นักท่องเที่ยว โดยธุรกิจมีการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไปที่ชื่นชอบการพักผ่อนแบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความชอบสัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน มองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวต่างไปจากเดิม โดยโฮมสเตย์บ้านมอทะ  มีรายได้จากการให้บริการ 345,600 บาทต่อปี โดยมีต้นทุนในการดำเนินงานทั้งสิ้น 134,400 บาทต่อปี แยกเป็นต้นทุนวัตถุดิบ 76,800 บาทต่อปี และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 57,600 บาทต่อปี ทำให้มีกำไรเท่ากับ 178,381 บาทต่อปี          


คำสำคัญ: การพัฒนา, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, โฮมสเตย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก https://www.dot.go.th/ebooks/ebooks-view/462?fbclid=IwAR3Efoljv1r- 1d7SZZfj5GJ6wBUBTyQtkLyYRO5laz2yBxaPIxafaSz1Yt4.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). แผนการดำเนินธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/business-plan/business-plan-content?fbclid=IwAR2GCFJv683lfZilzKnYssZ17dvos_Uu6D-h3--WWLpdDTqv5s_WKdjmgFQ.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5660/1/Fulltext.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563, จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/wp-content/uploads/download/article/NationalTourismDevelopmentPlan2555-2559.pdf.

จุรีรัตน์ หล่อวิรัชสุธี. (2558). การจัดการความรู้ด้านการตลาดและการจัดทำแผนธุรกิจสำหรับกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ประเภทเครื่องจักสานผักตบชวา พื้นที่ภาคกลางตอนบน. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563, สืบค้นจาก https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/2514/BUS_61_25.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

ฐานิกา เชียงทอง. (2561). แผนธุรกิจบ้านนาโฮมสเตย์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU _2018_6002030267_9901_9871.pdf.

ธาริดา สกุลรัตน์. (2559). การศึกษาเอกลักษณ์เพื่อหาแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (โฮมสเตย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5660/1/Fulltext.pdf.

ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2556). การประเมินการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (Home stay) บ้านเมืองขอน ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563,จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTA1MjI5.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ภาวิณี หาญณรงค์. (2557). การศึกษาคุณภาพโฮมสเตย์กระชังเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา โฮมสเตย์กระชังแพ ตำบลเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563, จาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/152911.pdf.

ราชกิจจานุเบกษา. (2555). กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/026/59.pdf.

สำนักงาน กองทุนสุขภาพเขียว. (2559). มาตรฐานการท่องเที่ยวที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (HOMESTAY). สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก http://www.greenhealthfund.org/16075868/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C?fbclid=IwAR3-PnyNO73ZC4Ks-Bf_byRlLXEb-UoO6uxvTLHBQf3GnHRD3-Oq3Pn6N-8.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). คู่มือการเขียนแผนธุรกิจการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://www.slideshare.net/kksbt/book1-42043227?fbclid=IwAR2GCFJv683lfZilzKnYssZ17dvos_Uu6D-h3--WWLpdDTqv5s_WKdjmgFQ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. (2563). ที่ตั้งและอาณาเขต. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก https://www.m-culture.go.th/tak/ewt_news.php?nid=62.

อรจนา แสนไชย จันทรประยูร. (2555). รูปแบบการจัดการที่พักสัมผัสชีวิตชนบท (Homestay Management) ที่เหมาะสมสาหรับชุมชนบ้านหม้อ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563, จาก http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/onjana_sanchai_chantraprayoon_2555/abstract.pdf.