การยกระดับผลผลิตท้องถิ่นของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าการเกษตรในตำบลสันทรายมหาวงศ์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อยกระดับสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาตำบลสันทรายมหาวงศ์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มีความต้องการที่จะพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอยู่เดิม เพื่อหนุนเสริมอาชีพใหม่และเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ผู้วิจัยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทต่าง ๆ เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในปัจจุบันและสภาพแวดล้อมในอนาคตที่ชุมชนคาดหวัง จึงได้นำเครื่องมือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพปัจจุบัน จากนั้นจึงจัดประชุมร่วมกับประชาชนและและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้จัดอบรมให้ความรู้ทางด้านการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมจำนวน 1 ชนิด คือ ชาผักเชียงดา และดำเนินการให้มีการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 1 ชนิด คือ สบู่ล้างมือสมุนไพร เนื่องจากประชาชนในตำบลสันทรายมหาวงศ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและนิยมเพาะปลูกพืชสมุนไพรเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นว่าสมุนไพรที่มีในชุมชนเหล่านี้จะสามารถสร้างรายได้และเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพให้กับประชาชนในตำบล โดยงานวิจัยนี้สามารถทำให้ท้องถิ่นมีศูนย์การเรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยดึงเอาจุดเด่นของพื้นที่ที่เน้นการทำเกษตรผสมผสานเป็นจุดที่สามารถสร้างมูลค่าของสินค้าและบริการในชุมชน ซึ่งช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและนำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง และส่งเสริมให้คนในชุมชนลดรายจ่ายด้วยการปลูกพืชผักตามฤดูกาลไว้รับประทานภายในครัวเรือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆ
ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร ถือเป็นความเห็น
และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่
เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร
ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก
คณะวิทยาการจัดการและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ก่อนเท่านั้น
References
กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). เศรษฐกิจ BCG โมเดลพัฒนาชาติ. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/13808
จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมเมืองนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 16(2). 63-71.
จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 1-21.
นุชนารถ สมควร, รักชนก ชำนาญมาก และวณิชชา ณรงค์ชัย. (2564). เศรษฐศาสตร์การเมือง กับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอุดมการณ์สู่การกลายเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการ . วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 216–247. https://doi.org/10.14456/lartstu.2021.25
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29(2). 32-48.
เปรมปรีดา ทองลา และนันทภัค บุรขจรกุล. (2565). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนปัถวี จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(2), 175-190.
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญหาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปกร. 10 (1). 994-1013.
สุรชัย กังวล. (2558). การศึกษาความเข้มแข็งและการวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินชุมชมในเขตภาคเหนือ. วารสารสมาคมวิจัย. 20(1). 74-84.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. http://www.sukhothai.go.th/.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). โครงการการพัฒนาระบบสถิติทางด้านข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ. http://nscr.nesdc.go.th/uploads/2021.pdf
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ. (2563). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ. (Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA). https://shorturl.asia/jDJXy
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ. (2564). แนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (2566). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2566). พระราชกฤษฎีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2561. https://www.cea.or.th/storage/app/media/ITA2564/Royal-Decree-for-CEA-Establishment.pdf
อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2565). เทคนิคและเครื่องมือสื่อความคิดในการศึกษาชุมชน. http://www.tsdf.nida.ac.th › article-file-11244
อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2553). การออกแบบระบบการจัดทำต้นทุนผลผลิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 8 (1), 1-16.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1). 17-29.
Carter, N. (2014). The Use of Triangulation in Qualitative Research. Oncology Nursing Forum, 41(5), 545-547.
Cohen, J.M. & Uphooff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evolution Rural Development Committee Center for International Studies. New York : Longman.
Cooper, R. G. (2011). Winning at New Products; Creating Value Through Innovation, 4th ed. Press : Basic Books.
Ghazinoory, S., Abdi, M., & Azadegan-Mehr, M. (2011). SWOT Methodology: A State-of-the-Art Review for the Past, A Framework for the Future. Journal of Business Economics and Management, 12(1), 24-48.
Gutierrez, P. H., & Dalsted, N. L. (1990). Break-even Method of Investment Analysis. https://extension.colostate.edu/docs/pubs/farmmgt/03759.pdf
MacLennan, N. (2017). Coaching and Mentoring. London: Routledge.
Phadermrod, B., Crowder, R. M., & Wills, G. B. (2019). Importance-Performance Analysis Based SWOT Analysis. International Journal of Information Management, 44, 194-203.
Sanoff, H. (1999). Community Participation Methods in Design and Planning. New York: John Wiley & Sons.
Sullivan, R. (2000). Entrepreneurial Learning and Mentoring. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 6(3), 160-175.